ประวัติสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ได้เคารพนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะแห่งชีวิต สืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน นับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบันที่ชาติไทยเรามีความมั่นคง ดำรงเอกราช มีอธิปไตยเป็นอิสระเสร ีอยู่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ด้วยคนในชาติยึดมั่นอยู่ในสามัคคีตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมสร้างสามัคคีธรรมระหว่งคนในชาติ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา ดังนั้น หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและความมั่นคงของประเทศชาติ
การบริหารกิจการพระศาสนานั้น เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ แต่เนื่องจากอาณาจักรและศาสนจักร ต้องประสานกัน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐบาลในฐานะผู้รับสนองพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ จึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจการทางศาสนา ตามประวัติและพัฒนาการโดยลำดับ ดังนี้
- สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา มีราชบัณฑิต และ หมื่นราชสังฆการี รับมอบหมายภารกิจด้านการศาสนา
- ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงานคือ กรมธรรมการ กรมสังฆการี และกรมราชบัณฑิต
ดวงตราสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
คำอธิบาย
ตรานี้ใช้ธรรมจักรบนฐานดอกบัว เรียกว่า "ไตรรัตนจักร" (กงล้อ คือ พระรัตนตรัย) เป็นสัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัย คือ
(1) ดอกบัวแทนพระพุทธเจ้า ดังพระบาลีในเถรคาถาว่า "พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก แต่ไม่ติดในโลกีวิสัย ดุจดอกบัวเกิดในน้ำแต่ไม่เปียกน้ำ (ขุ.เถร. 26/388)
(2) ดอกบัวแทนพระอริยสงฆ์ ดังพุทธวจนะในธรรมบทว่า "ดอกบัวเกิดที่กองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่ มีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจฉันใด ท่ามกลางมหาชนผู้โง่เขลา เป็นดุจสิ่งปฏิกูลพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยปัญญาฉันนั้น" (ขุ.ธ. 25-59)
(3) ดอกบัวมี 7 กลีบ เป็นสัญลักษณ์แทนดอกบัว 7 ดอก ที่เกิดขึ้นรองรับพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อคราวประสูติ หรือสัญลักษณ์แทนโพชฌงค์ 7
(4) ธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรม คือ อริยสัจสี่ อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน 8 วันที่พระรัตนตรัยครบสมบูรณ์
(5) ซี่ธรรมจักร 12 ซี่ เป็นสัญลักษณ์แทนการรู้แจ้งอริยสัจแต่ละข้อด้วยญาณ ทั้ง 3 (สัจจญาณ, กิจจญาณ, และกตญาณ) (3x4 = 12)
(6) พระบาลีในธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรว่า ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ อปฺปฏิวตฺติยํ = กงล้อคือพระธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหมุนไปแล้ว ไม่มีใครหมุนกลับได้
ศ. พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
29 ตุลาคม 2545