อำนาจหน้าที่
เหตุผลและความจำเป็นในการจัดตั้ง
การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 อาจจะยังมีปัญหาในการปฏิบัติเกิดขึ้น เพราะหลายอย่างเป็นสิ่งใหม่ และเป็นเพียงการเริ่มต้น ยังมีภารกิจอีกหลายประการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ต้องมี “เจ้าภาพ” ในการบริหารจัดการกระบวนการพัฒนาระบบราชการ ในแต่ละส่วนราชการทั้งระดับกระทรวง และระดับกรม ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ มาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และรายงานต่อ ก.พ.ร.
ภารกิจ
พัฒนาการบริหารของส่วนราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โดยนำวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
บทบาท
- เป็นผู้วางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
- เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารงาน
- เป็นผู้ประสานงาน / ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- เป็นผู้กำกับ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- พิจารณา เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่หัวหน้าส่วนราชการ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบบริหารภายในกรม/กระทรวง ให้สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งครอบคลุมถึงการปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ การปรับกลไกวิธีการบริหารราชการ วิธีการปฏิบัติงานของข้าราชการ ระบบบุคลากรภายในกระทรวง/กรม และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ค่านิยมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการในกระทรวง/กรม
- ประสานและดำเนินการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และหน่วยงานภายในกรม/กระทรวง เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการบรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ขอบเขตการทำงาน
1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ โดยจัดทำ ::
- แผนยุทธศาสตร์ และแผนดำเนินงาน รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยง
- Organization & Individual Scorecards (KPIs)
- การทบทวนผลงานและการจัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ประจำปี
- ข้อตกลงว่าด้วยผลงาน /การใช้ทรัพยากรในส่วนราชการ
2. การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำ ::
- เป้าหมายและแผนการเพิ่มผลผลิต / ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของแต่ละส่วนราชการให้ชัดเจน
- การวัดประสิทธิภาพการทำงานโดยคิดคำนวณอัตราส่วน อาทิ Cost per unit of output และ Cases per worker เพื่อปรับปรุงและยกระดับการทำงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา
- การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างส่วนราชการ
- การทบทวนและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ
3. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Process simplification) โดยจัดทำ::
- แผนผังกระบวนงานการให้บริการ / คู่มือบริการประชาชน
- การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการทำงานใหม่
- การปรับปรุงและประกาศระเบียบปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ / คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน
- การกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานแล้วเสร็จที่ชัดเจน
4. การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยจัดทำ ::
- คู่มือการติดต่อราชการ
- แบบสำรวจความคิดเห็น / แบบร้องเรียนของผู้รับบริการ
- แผนภูมิองค์กรระบุชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ หมายเลขโทรศัพท์
- การประชุมประจำปีระหว่างผู้บริหารส่วนราชการกับผู้รับบริการ หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงาน
5. การพัฒนาบุคลากรและการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมของข้าราชการ